รายงานเวทีเสวนา: ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทย
หัวข้อเสวนา: ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยองค์กร: สถานเอกอัคราชทูตสวิตเซอร์แลนด์ประจำประเทศไทยกิจกรรม: งานประชุมนานาชาติครั้งที่ 7 ของสถาบันวิจัย Asia Centre ในหัวข้อ Freedom of Expression in Asiaวันที่/เวลา: 25 ตุลาคม 2565 11.00 น. ถึง 12.30 น.สถานที่: โรงแรม Radisson Blu Plaza Bangkokพิธีกล่าวต้อนรับเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2565 Conradin Rasi อุปทูตรักษาราชการชั่วคราวของสถานเอกอัคราชทูตสวิตเซอร์แลนด์ประจำประเทศไทย กล่าวในพิธีเปิดงานงานประชุมว่า รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ให้ความสำคัญกับการปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศและต่างแดน โดยกำหนดให้ประเด็นต่อไปนี้มีความสำคัญลำดับต้นในด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศ 1) การยกเลิกโทษประหารชีวิต 2) การต่อต้านการทารุณกรรม 3) การปกป้องชนกลุ่มน้อย 4) การปกป้องเสรีภาพในการแสดงออก เขาอธิบายว่าเสรีภาพในการแสดงออกเปรียบเสมือนเสาหลักที่คอยค้ำจุนกระบวนการประชาธิปไตยในสังคมที่มีความหลากหลายอย่างสวิตเซอร์แลนด์ เขาเน้นย้ำว่าเสรีภาพในการแสดงออกกำลังตกอยู่ภายใต้แรงกดดันที่เพิ่มมากขึ้นและตระหนักถึงบทบาทของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในการส่งเสริมและปกป้องเสรีภาพในการแสดงออก สถานเอกอัคราชทูตจึงยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้สนับสนุนงานประชุมนานาชาติของ Asia Centre และเวทีเสวนาหัวข้อผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยเวทีเสวนาหัวข้อผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทย โดยสถานเอกอัคราชทูตสวิตเซอร์แลนด์ประจำประเทศไทยผู้ร่วมเสวนาได้แก่ คุณอังคณา นีละไพจิตร ผู้เชี่ยวชาญของสหประชาชาติด้านการบังคับหรือสูญหายโดยไม่สมัครใจและอดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และคุณชลธิชา แจ้งเร็วจากกลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย ดร. สุรัชนี ศรีใยจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับหน้าที่เป็นพิธีกรอังคณา นีละไพจิตรอังคณาเริ่มต้นโดยตั้งข้อสังเกตต่อเหตุโจมตีผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน (WHRDs)ในไทย ในอดีต ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิฯ ถูกข่มขู่โดยการทำร้ายร่างกาย แต่ในปัจจุบันผู้หญิงนักปกป้องสิทธิฯ จำนวนเพิ่มขึ้นต้องเผชิญกับการคุกคามผ่านกระบวนการยุติธรรมโดยภาครัฐและตัวแสดงที่ไม่ใช่ภาครัฐ นอกจากนี้ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การคุกคามออนไลน์โดยปฏิบัติการข่าวสาร (Information Operations - IOs) ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐยังได้ก่อตัวเป็นวิธีการโจมตีรูปแบบใหม่ เธอยกตัวอย่างการโจมตีสามประเภทที่เธอต้องทุกข์ทน สำหรับการทำร้ายทางกายภาพ เธอเล่าว่ารถของเธอถูกปากรรไกรใส่จนได้รับความเสียหายในเช้าตรู่ของวันที่ 12 เมษายน 2565 เธอเชื่อว่าผู้ก่อเหตุกระทำการดังกล่าวเพื่อแสดงความไม่พอใจต่อการรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชนของเธอ ในกรณีการคุมคามผ่านกระบวนการยุติธรรม เธอถูกบริษัทแห่งหนึ่งฟ้องข้อหาหมิ่นประมาท เนื่องจากบริษัทดังกล่าวถูกกล่าวหาว่าบังคับใช้แรงงานชาวเมียนมาร์ผู้ซึ่งอังคณาให้การช่วยเหลือขณะที่เธอดำรงตำแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในปี 2562 สำหรับการคุกคามออนไลน์ อังคณาเล่าว่ามีโพสต์และรูปภาพที่มีข้อความเหยียดเพศและขาดมนุษยธรรมที่โจมตีเธอแพร่กระจายอยู่ในโลกออนไลน์ เธอเชื่อว่าปฏิบัติการข่าวสาร (IOs) ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพคือผู้อยู่เบื้องหลังโพสต์เหล่านี้ ความคิดเห็นของเธอสอดคล้องกับรายงานของเฟซบุ๊กที่ถูกเผยแพร่ในเดือนพฤษภาคมปี 2564 ที่ระบุว่าเฟซบุ๊กได้ปิดบัญชีที่มีความเกี่ยวข้องกับกองทัพไทยและมีส่วนในการเผยแพร่ข้อมูลชวนเชื่อไปทั้งสิ้น 185 บัญชี การโจมตีในรูปแบบดังกล่าวส่งผลต่อความเป็นอยู่ของอังคณา ทำให้เธอต้องใช้ชีวิตภายใต้ความกังวล ความเครียด…